|
|

|
|
|
|
Menu |
|
|
|
อ่านหนังสือ |
|
ฟื้นฟูยามเช้า
ค้นคว้าเพิ่มเติม
|
บทเพลงสรรเสริญ
สถิติวันนี้ |
31 คน |
สถิติเมื่อวาน |
72 คน |
สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด |
1154 คน 16221 คน 610535 คน |
เริ่มเมื่อ 2009-11-26 |


|
|
 |
|
|
|
 |
|
|
|
|
หลักประกัน, ความมั่นคงปลอดภัย, และความยินดีแห่งความรอด หลักประกันแห่งความรอด ถ้าท่านเพิ่งมีประสบการณ์ ต่อการต้อนรับพระคริสต์ ก็อาจมีบางครั้งที่ท่านรู้สึกสงสัย ในความเที่ยงแท้ของประสบการณ์ดังกล่าว คือมีคำถามว่า ท่านรอดแล้วจริงหรือ? สำหรับผู้ที่เพิ่งเป็นคริสเตียนนั้น หากเขาไม่มีหลักประกัน แห่งความรอดอย่างแท้จริงแล้ว เขาก็ยากที่จะเติบโตและมีประสบการณ์ ต่อสิ่งที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในชีวิตคริสเตียนพระคัมภีร์กล่าวว่า เรามีทางที่จะรู้ได้อย่างสมบูรณ์ และแจ่มชัดว่า เราเป็นผู้ได้รับความรอดแล้วเป็นไปได้หรือ? เราลองอ่าน 1 โยฮัน 5:13: ข้อความเหล่านี้ ข้าพเจ้าได้เขียนฝากมายังท่านทั้งหลาย ที่เชื่อเข้าสู่พระนาม แห่งพระบุตรของพระเจ้า เพื่อท่านจะได้รู้ว่าท่านมีชีวิตนิรันดร์. ในที่นี้ไม่ได้กล่าวว่า "เพื่อท่านจะได้คิด" หรือ "เพื่อท่านจะได้หวัง" แต่กล่าวว่า "เพื่อท่านจะได้รู้." ไม่ใช่ว่าต้องรอให้ตายเสียก่อน แล้วจึงจะรู้ แต่หลักประกันของเรื่องนี้ เป็นสิ่งที่เรารับสุขได้ในวันนี้. เราจะมีหลักประกันแห่งความรอดได้อย่างไร? เรามีสื่อกลางอยู่สามอย่าง: พระเจ้าตรัสไว้ดังนั้น สื่อกลางอย่างแรก ที่เป็นหลักประกันแห่งความรอดของเรา ก็คือพระคำของพระเจ้า คำพูดของมนุษย์นั้นไว้ใจไม่ได้ แต่พระคำของพระเจ้านั้นมั่นคงแน่นอนเป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าจะตรัสมุสา (ฮร.6:18; อฤธ.23:19)ทุกสิ่งที่พระเจ้าตรัสไว้ ล้วนเป็นสิ่งที่แน่นอนชั่วนิรันดร์ (บพส.119:89). สิ่งที่พระเจ้าตรัสไว้นั้น ไม่ได้มาจากการคาดเดา พระคำของพระองค์ก็ไม่คลุมเครือ หรือจับต้องไม่ได้วันนี้พระคำนี้ได้มาถึงเรา ในลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษร นั่นก็คือพระคัมภีร์. พระคัมภีร์ก็คือพระคำของพระเจ้า ซึ่งพระองค์เป็นผู้ดลใจให้เขียนขึ้น (2ตธ.3:16) นี่เป็นถ้อยคำที่เราสามารถยึดถือ, เชื่อ, และวางใจได้. แล้วพระเจ้าตรัสถึงความรอดไว้ว่าอย่างไร? พระองค์ตรัสว่า หนทางแห่งความรอดคือบุคคลผู้หนึ่ง นั่นคือพระเยซูคริสต์ (ยฮ.3:16; 14:6; กจ.10:43; 16:31) พระองค์ตรัสว่า ผู้ใดที่เชื่อว่าพระเยซูคริสต์ ทรงเป็นขึ้นมาจากท่ามกลางคนตาย และยอมรับด้วยปากว่าพระเยซูคือ องค์พระผู้เป็นเจ้า ผู้นั้นก็รอด พระองค์ตรัสว่า ผู้ใดที่ร้องออกพระนาม ขององค์พระผู้เป็นเจ้าก็รอด (รม.10:9-13). ท่านได้ทำอย่างที่ว่ามานี้แล้วหรือยัง? ท่านเชื่อในพระคริสต์ และยอมรับอย่างเปิดเผยแล้วหรือยังว่า พระองค์คือองค์พระผู้เป็นเจ้าของท่าน? ท่านร้องออกพระนาม ของพระองค์แล้วหรือยัง? ถ้าท่านทำแล้ว ท่านก็ได้รับความรอดแล้วจริงๆพระเจ้าตรัสไว้ดังนั้น ก็เป็นอันยุติ. พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นพยาน นอกจากพระคำของพระเจ้า ที่บอกเราอยู่ภายนอกว่า เราได้รับความรอดแล้ว เรายังมีพยานบุคคลผู้หนึ่ง ที่คอยบอกเรื่องเดียวกันนี้ อยู่ภายในตัวเราด้วย สิ่งที่พระคัมภีร์บอกแก่เราจากภายนอก มีพระวิญญาณนั้น คอยยืนยันอยู่ภายใน ใน 1 โยฮัน 5:10 กล่าวว่า "ผู้ที่เชื่อเข้าสู่พระบุตรของพระเจ้า ก็มีพยานนี้อยู่ในตัวเขา." หลังจากที่เราได้ต้อนรับพระคริสต์ บางครั้งเราก็ยังอาจไม่รู้สึกว่า เรารอดแล้ว อย่างไรก็ดี ถ้าเราลองตรวจสอบดูภายในส่วนลึกของตัวเรา คือตรวจสอบกับวิญญาณของเรา เราจะพบกับพยานที่อยู่ภายใน ซึ่งให้หลักประกันว่า เราเป็นลูกของพระเจ้า "พระวิญญาณนั้น เป็นพยานร่วมกับวิญญาณของเราว่า เราเป็นลูกของพระเจ้า" (รม.8:16) ถ้าท่านสงสัยว่า ท่านมีการเป็นพยานทางภายใน ของพระวิญญาณนั้นหรือไม่ ท่านก็อาจลองทำการทดลองได้ดังนี้:ลองประกาศอย่างหนักแน่นว่า "ฉันไม่ใช่ลูกของพระเจ้า!" ท่านจะพบว่า ถ้อยคำที่ไม่เป็นจริงเช่นนี้ แม้แต่จะให้เอ่ยด้วยเสียงกระซิบ ท่านก็ยังทำได้ยากมาก ทำไมเล่า? นั่นก็เพราะพระวิญญาณบริสุทธิ์ คอยเป็นพยานอยู่ภายในท่านว่า "ท่านเป็นลูกของพระเจ้า!" ความรักที่เรามีต่อพี่น้องทั้งหลายก็เป็นข้อพิสูจน์ สื่อกลางอย่างที่สาม ที่เป็นหลักประกันก็คือ ความรักที่เรามีต่อพี่น้องทั้งหลาย ที่อยู่ในพระคริสต์ ใน 1 โยฮัน 3:14 กล่าวว่า "เราทั้งหลายรู้ว่า เราได้ออกจากความตายเข้าสู่ชีวิตแล้ว เพราะเรารักพี่น้อง." ผู้ที่ได้รับความรอดแล้ว ย่อมสัมผัสถึงความรักที่เขามีต่อผู้อื่น ที่ได้รับความรอดเหมือนกันอย่างไม่ต้องสงสัยท่านจะสัมผัสถึงความปรารถนา ที่จะสามัคคีธรรมกับเขา หรือรับสุขพระคริสต์ด้วยกันกับเขานี่เป็นผลลัพธ์ของการได้รับความรอด ที่เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติ เป็นสัญญาณที่ชัดเจนที่สุด ของบุคคลที่ได้รับความรอดแล้ว ความรักนี้สูงล้ำกว่าความรักที่ราคาถูก และเห็นแก่ได้แห่งยุคสมัยนี้นี่เป็นความรักที่ปราศจากความลำเอียง คือรักทั้งคนที่เหมือนกับเรา และคนที่แตกต่างกับเรานี่ก็คือความเป็นหนึ่งและ ความกลมเกลียวที่มนุษย์โลกใฝ่หามานาน เมื่อเราต้อนรับพระคริสต์ สิ่งนี้ก็กลายเป็นของเรา"ซึ่งพวกพี่น้องอาศัยอยู่ในความเป็นหนึ่ง ก็เป็นการดีและน่าชื่นใจยิ่งนัก!" (บพส.133:1) นี่ก็คือพยานของบุคคลที่ได้รับความรอดแล้ว. โดยพยานทั้งสามนี้ - พระคำของพระเจ้า, การเป็นพยานทางภายใน ของพระวิญญาณนั้น, และความรักที่เรามีต่อพี่น้องทั้งหลาย - เราจึงรู้และแน่ใจได้ว่า เราได้รับความรอดอย่างแท้จริงแล้ว. ความมั่นคงปลอดภัยแห่งความรอด หลังจากที่คริสเตียนผู้หนึ่งมีหลักประกันว่า เขาได้รับความรอดอย่างแท้จริงแล้ว เขาก็ยังอาจครุ่นคิดว่า "วันนี้ฉันรู้แล้วว่าฉันได้รับความรอด แต่ฉันจะรู้ได้อย่างไรว่า วันพรุ่งนี้ฉันจะยังได้รับความรอด? เป็นไปได้ไหมว่า ฉันอาจสูญเสียความรอดของฉันไป?" สำหรับคนเช่นนี้ ปัญหาไม่ใช่หลักประกัน แต่เป็นเรื่องของความมั่นคงปลอดภัย. คนที่ฝากเงินไว้ในธนาคารหลายล้านบาท ย่อมมีหลักประกันว่าทรัพย์มั่งคั่งเหล่านั้น เป็นของเขา แต่ถ้าธนาคารยืนกรานว่า จะไม่ใส่กุญแจห้องเก็บเงิน เศรษฐีคนนี้จะมีปัญหาเกี่ยวกับ ความมั่นคงปลอดภัยในทรัพย์สินของเขา อย่างแน่นอนวันนี้เขารู้ว่าตัวเขามั่งคั่ง แต่สำหรับวันพรุ่งนี้ เขาก็ไม่รู้แล้ว. ความรอดของเราเป็นอย่างนั้นหรือไม่? ความรอดเป็นสิ่งที่เรามีอยู่ในวันนี้ แต่จะสูญเสียไปเมื่อไรก็ได้ อย่างนั้นหรือ? เราสามารถตอบได้ โดยไร้ความคลางแคลงใดๆ ว่า ไม่ใช่อย่างนั้นแน่นอน เราสามารถพูดได้อย่างหนักแน่นว่า "ข้าพเจ้าทราบว่า สารพัดที่พระเจ้าทรงกระทำ ก็ดำรงอยู่เป็นนิตย์" (ผปก.3:14). ข้อเท็จจริงที่ดีเลิศอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับความรอดของเราในพระคริสต์ก็คือ ความรอดนั้นเป็นสิ่งที่ย้อนกลับไม่ได้ ซึ่งก็คือเพิกถอนไม่ได้เมื่อเราได้รับความรอดแล้ว เราก็รอดนิรันดร์ เพราะความรอดของเราตั้งอยู่บนพื้นฐาน แห่งพระนิสัยและฐานันดรของพระเจ้า. ความรอดเป็นสิ่งที่พระเจ้าทรงเป็นผู้ริเริ่ม พระเยซูตรัสแก่เหล่าสาวกของพระองค์ว่า "ท่านทั้งหลายไม่ได้เลือกเรา แต่เราได้เลือกท่านทั้งหลาย" (ยฮ.15:16)พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความรอดนั้น มาจากความคิดของพระเจ้า ไม่ใช่ความคิดของเรา ในนิรันดร์กาลก่อน เราถูกพระองค์เลือกสรร กระทั่งกำหนด (ชี้หมาย) ไว้ล่วงหน้า (อฟ.1:4-5) ยิ่งกว่านั้น พระองค์ยังทรงเรียกเราด้วย (รม.8:29-30)ในเมื่อการช่วยเราให้รอด เป็นโครงการของพระเจ้าตั้งแต่แรก การรักษาเราไว้ในความรอดนั้น ก็ย่อมต้องอยู่ในโครงการของพระองค์ด้วย พระเจ้าทรงเลือกสรรเรา, ทรงชี้หมายเราไว้, ทรงเรียกเราเข้าสู่ความรอดแล้ว พระองค์จะทรงทอดทิ้งเราหรือ? ไม่มีทางความรอดของพระเจ้านั้น เป็นความรอดที่นิรันดร์. ความรักและพระคุณของพระเจ้าก็นิรันดร์ ยิ่งกว่านั้นความรักและพระคุณ ที่พระเจ้าทรงมีต่อเรา ก็ไม่ใช่สิ่งที่มีเงื่อนไขหรือดำรงอยู่ชั่วคราว ความรักที่ช่วยเราให้รอดนั้น ไม่ใช่ความรักที่มาจากฝ่ายเรา แต่เป็นความรักที่มาจากฝ่ายพระเจ้า (1ยฮ.4:10) พระองค์ทรงรักเราด้วยความรักที่นิรันดร์ (ยรม.31:3)พระคุณของพระองค์ก็ได้ประทานแก่เรา ตั้งแต่นิรันดร์กาลในอดีต ก่อนที่โลกนี้จะอุบัติขึ้นเสียอีก (2ตธ.1:9) เมื่อพระคริสต์ทรงรักเรา พระองค์ก็ทรงรักเราจนถึงที่สุด (ยฮ.13:1)ไม่มีความบาป, ความพ่ายแพ้, หรือความอ่อนแอใดๆ ของเราอาจแยกเราจากความรักของพระเจ้า ซึ่งอยู่ในพระคริสต์เยซูได้ (รม.8:35-39). พระเจ้าทรงชอบธรรม ทว่าความรอดของเรา ไม่เพียงมีพื้นฐานอยู่บนความรัก และพระคุณของพระเจ้าเท่านั้น แต่ยิ่งกว่านั้น ยังมีพื้นฐานอยู่บนความชอบธรรม ของพระเจ้าด้วยพระเจ้าของเราทรงเป็นพระเจ้าที่ชอบธรรมความชอบธรรมและความยุติธรรม คือฐานรากแห่งพระที่นั่งของพระองค์ (บพส.89:14)ถ้าพระเจ้าเกิดทำอะไร ที่ไม่ชอบธรรมขึ้นมา พระที่นั่งของพระองค์ก็จะไม่มีฐานราก ดังนั้นถ้าความรอดของเรา ไปเกี่ยวโยงกับความชอบธรรมของพระเจ้า ความรอดของเรา ก็ย่อมจะมั่นคงแข็งแรงไปด้วย. สมมุติว่าท่านฝ่าไฟแดง และได้รับใบสั่งเป็นจำนวน 1,000 บาท ค่าปรับ 1,000 บาทนั้นก็คือโทษที่ชอบธรรม ซึ่งกฎหมายของแผ่นดิน กำหนดให้ท่านต้องชำระแต่ถ้าเจ้าพนักงานละเลยความผิดของท่าน และปล่อยตัวท่านไป โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ เขาก็จะเป็นเจ้าพนักงานที่ไม่ชอบธรรม เจ้าพนักงานผู้นั้น จะรักหรือไม่รักท่านก็ไม่ใช่ประเด็น เพราะถึงอย่างไรเขาก็ถูกผูกมัด ด้วยกฎหมายให้เรียกเก็บค่าปรับจากท่าน. ทำนองเดียวกัน ปัญหาที่เรามีอยู่ต่อเบื้องพระพักตร์ของพระเจ้า ก่อนที่เราจะได้รับความรอดนั้น ก็เป็นเรื่องของกฎหมาย เราละเมิดกฎบัญญัติของพระเจ้า โดยความบาปของเรา ทำให้เราต้องรับการพิพากษา ที่ชอบธรรมตามกฎบัญญัติ ตามกฎบัญญัติของพระเจ้านั้น ที่ใดมีการล่วงกฎบัญญัติ ที่นั่นต้องมีโทษถึงตาย (รม.6:23; ยอค.18:4) ไม่ใช่ว่าพระเจ้าทรงรักเรา แล้วจะทรงมองข้ามความบาปของเรา และลืมการพิพากษาแห่งกฎบัญญัติไปได้ หากพระเจ้าทรงทำเช่นนั้น พระที่นั่งของพระองค์คงล่มสลายพระเจ้าทรงถูกผูกมัด โดยกฎบัญญัติของพระองค์เอง ให้ต้องพิพากษาความบาป พระองค์จะทรงทำอะไรได้? เนื่องจากพระเจ้าทรงปรารถนา ที่จะช่วยเราให้รอดและตัวเราเอง ก็ไม่อาจชำระหนี้บาปได้ พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัย ที่จะทรงกระทำดังนั้นด้วยพระองค์เอง โดยพระเมตตาของพระองค์ เมื่อสองพันปีก่อน พระเยซูคริสต์ซึ่งเป็นพระเจ้า ผู้กลายเป็นเนื้อหนัง จึงได้เสด็จมาวายพระชนม์บนกางเขน เพื่อชำระหนี้เพื่อความบาปของเราในเมื่อพระองค์เองไม่มีบาป พระองค์จึงเป็นผู้เดียวที่มีคุณสมบัติ ในการตายแทนเช่นนี้ได้ การตายของพระองค์ เป็นสิ่งที่พระเจ้าทรงโปรดยอมรับ และพระเจ้าก็ทรงถือว่า การตายของพระองค์คือ การตายของเรา ยิ่งกว่านั้นพระเจ้าก็ทรงให้พระองค์ เป็นขึ้นมาจากท่ามกลางคนตายบัดนี้เมื่อเราเชื่อในพระคริสต์ การตายของพระองค์ก็ถูกนับว่า เป็นการตายของเรา ในสายพระเนตรของพระเจ้าดังนั้นหนี้แห่งความบาปของเรา ก็ถูกชดใช้อย่างชอบธรรมแล้ว เราจึงได้รับความรอด. พระคริสต์ทรงซื้อความรอดนี้มาแล้ว ตอนนี้พระเจ้ายังสามารถยึดคืนไปได้หรือไม่? ไม่ได้เป็นอันขาด! ในเมื่อได้ชำระหนี้แล้ว หากพระเจ้ายังทรงเรียกเก็บจากเราอีก ก็จะเป็นเรื่องที่ไม่ชอบธรรม ความชอบธรรมซึ่งก่อนหน้านี้ เคยปรับโทษเรา บัดนี้จึงกลายเป็นสิ่งที่ประกาศว่า เราชอบธรรมเรื่องนี้ทำให้ความรอดของเรา มีความมั่นคงปลอดภัยที่แข็งแรงอย่างยิ่ง! แม้แต่เจ้าพนักงานในโลกนี้ ยังไม่เรียกเก็บค่าปรับจากใบสั่งเดียว ซ้ำกันสองครั้ง ดังนั้นพระเจ้าผู้เป็นต้นกำเนิดแห่งความยุติธรรม และความชอบธรรมทั้งปวง ก็ย่อมไม่อาจเรียกร้องให้เรา ต้องชำระหนี้บาปสองครั้งอย่างแน่นอน วอท์ชแมน นี ก็ได้เอ่ยถึงเรื่องนี้ในบทเพลงที่เขาประพันธ์ว่า: พระองค์อภัยบาปโทษแก่ข้า ประทานพระคุณ โดยไม่คิดค่าชำระมวลหนี้บาปหนา พระเจ้าจะไม่ทวงหนี้สองข้าง พระองค์จะไม่ทวงจากคนกลาง แล้วยังทรงทวงจากข้า ดังนั้นพระคัมภีร์จึงประกาศ ให้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า เมื่อพระเจ้าทรงช่วยเราให้รอด พระองค์ก็ได้ทรงสำแดง ความชอบธรรมของพระองค์ ให้เป็นที่ปรากฏ (รม.1:16-17; 3:25-26). เราได้กลายเป็นลูกของพระเจ้า เมื่อเราได้รับความรอด เราไม่เพียงได้รับอะไรบางอย่างเท่านั้น แต่เรายังได้กลายเป็นอะไรบางอย่างด้วย เราได้กลายเป็นลูกของพระเจ้า ที่บังเกิดโดยชีวิตนิรันดร์ของพระองค์ (ยฮ.1:12-13) บิดาที่เป็นมนุษย์ เมื่อให้ของขวัญแก่ลูกของเขาแล้ว ยังอาจยึดคืนไปได้ แต่ชีวิตมนุษย์ ที่ได้มอบให้ลูกของตนนั้น เขาไม่มีทางยึดคืนไปได้ แม้ลูกของเขาประพฤติไม่ดี ลูกก็ยังคงเป็นลูกของพ่อ ในทำนองเดียวกัน เราก็คือลูกของพระเจ้าแม้ว่าเรายังมีความอ่อนแออยู่มากมาย และอาจต้องถูกพระองค์ตีสอน แต่การทำบาปและความอ่อนแอของเรา ก็ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง ที่เราเป็นลูกของพระองค์ไปได้ชีวิตที่เราได้รับมา โดยการบังเกิดครั้งที่สองของเรานั้น เป็นชีวิตนิรันดร์, ชีวิตที่ไม่อาจถูกทำลายได้, ชีวิตของพระเจ้า, ชีวิตที่จะไม่มีวันตายทันทีที่เราได้บังเกิดใหม่แล้ว เราก็ไม่อาจเพิกถอนการเกิดนั้นได้อีก. พระเจ้าทรงแข็งแรง สาเหตุอีกประการหนึ่ง ที่ทำให้ความรอดของเรา มีความมั่นคงปลอดภัยก็คือ ความแข็งแรงของพระเจ้าพระเจ้าจะไม่มีวันยอมให้สิ่งใด หรือผู้ใดชิงเราไปจากพระองค์ พระเยซูตรัสว่า "เราให้ชีวิตนิรันดร์แก่แกะนั้น แกะนั้นจะมิได้พินาศเลยเป็นนิตย์ และไม่มีผู้ใดชิงแกะนั้น ไปจากมือของเราได้พระบิดาของเรา ... เป็นใหญ่กว่าสารพัดทั้งปวง และไม่มีผู้ใดอาจชิงแกะนั้น จากพระหัตถ์พระบิดาของเราได้" (ยฮ.10:28-29) พระหัตถ์ของพระบิดา และพระหัตถ์ขององค์พระเยซูเจ้า คือสองพระหัตถ์ที่แข็งแรง ซึ่งคอยยึดจับเราไว้อย่างแน่นหนา ถึงเราจะพยายามวิ่งหนี ไปจากพระบิดาของเรา ก็ยังไม่มีทางหนีไปได้พระเจ้าไม่เพียงแข็งแรงกว่าซาตานเท่านั้น แต่พระองค์ยังทรงเข้มแข็งกว่าเราด้วย. พระเจ้าทรงไม่เปลี่ยนแปร ถ้าความรอดของเรา เป็นสิ่งที่ยังคงสูญเสียไปได้ หลายคนก็คงจะสูญเสียไปนานแล้ว ในฐานะที่เราเป็นมนุษย์ เราเองมักจะแปรเปลี่ยนไปมาวันนี้เราร้อนรน อีกวันหนึ่งเรากลับเย็นชา ทว่าความรอดของเราไม่ได้มีพื้นฐาน อยู่บนความรู้สึกที่ไม่คงเส้นคงวาของเรา แต่ความรอดนั้นหยั่งราก และวางฐานอยู่ในพระเจ้า ซึ่งความรักและความสัตย์ซื่อ ที่พระองค์ทรงมีต่อเรานั้น ไม่มีวันเปลี่ยนแปร (มลค.3:6) ยาโกโบ 1:7 กล่าวว่า "ในพระบิดาแห่งความสว่างทั้งหลายนั้น ไม่มีการแปรเปลี่ยนหรือไม่มีเงา ที่เกิดจากการหมุนเวียน." บทเพลงร้องทุกข์ 3:22-23 ก็กล่าวว่า "เพราะความเอ็นดูรักใคร่ของพระยะโฮวา พวกข้าพเจ้าจึงไม่ถูกล้างผลาญ เพราะความกรุณาของพระองค์ มีอยู่ไม่ขาดสายสิ่งเหล่านี้เป็นของใหม่ทุกๆ ยามเช้าความสัตย์ซื่อของพระองค์ก็ใหญ่ยิ่งนัก." ถ้าพระองค์ทรงรักเรามากพอ ที่จะช่วยเราให้รอดแล้ว พระองค์ก็ย่อมทรงรักเรามากพอ ที่จะรักษาเราอยู่ในความรอดนี้ ตลอดไปด้วย ความสัตย์ซื่อของพระองค์ช่างใหญ่ยิ่งนัก! พระคริสต์ทรงสัญญาไว้แล้ว ประการสุดท้ายคือ พระคริสต์เองทรงสัญญาไว้ว่า จะทรงรักษาเรา, ค้ำชูเรา, และจะไม่ทรงจากเราไปเลยแม้มนุษย์มักจะไม่รักษาสัญญาของตน แต่สิ่งใดที่พระคริสต์ทรงสัญญาไว้แล้ว พระองค์ย่อมไม่มีทางผิดสัญญาแน่นอนให้เรามาฟังคำสัญญาของพระองค์กัน: "คนทั้งปวงที่พระบิดาทรงประทานแก่เรา จะมาหาเรา และผู้ที่มาหาเรา เราก็จะไม่ทิ้งเขาไว้ภายนอกเลย" (ยฮ.6:37); "เราจะไม่ละท่านไว้ และเราจะไม่ทอดทิ้งเจ้าเลย" (ฮร.13:5)พระสัญญาขององค์พระผู้เป็นเจ้า ในที่นี้ล้วนแต่ไม่มีเงื่อนไข คำว่า "เลย" เป็นการแสดงว่า ไม่มีสถานการณ์ใดๆ ที่พระองค์จะทรงทิ้งเราไว้ภายนอก หรือเลิกค้ำชูเรา นี่คือพระสัญญาอันสัตย์ซื่อของพระองค์. ความรอดของเรา ช่างมีความมั่นคงปลอดภัยที่แข็งแรงยิ่งนัก! มีทั้งการเลือกสรรของพระเจ้า, การกำหนดไว้ล่วงหน้าของพระองค์, การทรงเรียกของพระองค์, ความรักของพระองค์, พระคุณของพระองค์, ความชอบธรรมของพระองค์, ชีวิตของพระองค์, ความแข็งแรงของพระองค์, ความสัตย์ซื่อที่ไม่เปลี่ยนแปรไป ของพระองค์, และพระสัญญาของพระองค์ ล้วนเป็นฐานราก, การค้ำประกัน, และความมั่นคงปลอดภัย สำหรับความรอดของเรา เราทุกคนจึงสามารถประกาศ ร่วมกับเปาโลได้ว่า "ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่า พระองค์ทรงฤทธิ์ อาจรักษาสิ่งที่ข้าพเจ้าได้มอบหมายไว้ได้ จนถึงกาลวันนั้น" (2ตธ.1:12). ความยินดีแห่งความรอด เราได้มองเห็นหลักประกัน แห่งความรอดของเรากันไปแล้ว คือมองเห็นแล้วว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าเราได้รับความรอดแล้วเรายังมองเห็นความมั่นคงปลอดภัย แห่งความรอดของเราแล้วด้วย คือมองเห็นว่า เหตุใดเราจึงไม่มีทางสูญเสีย ความรอดของเราไปได้ทว่าแค่นี้พอแล้วหรือยัง? น่าเสียดายที่คริสเตียนมากมายพอใจแล้ว ที่ได้มาถึงแค่จุดนี้ คือแค่ได้รับความรอด แต่ความยินดีหรือการรับสุข ที่เขามีต่อความรอดนั้นยังน้อยมาก. เศรษฐีคนนั้นที่มีเงินฝากในธนาคารหลายล้านบาท มีหลักประกันว่าเขามั่งมี และเขาก็อาจมีความมั่นคงปลอดภัย เพราะรู้ว่าเงินฝากของเขาปลอดภัยด้วย แต่ถ้าเขาไม่เคยเอาเงินมาใช้เลย แม้แต่สลึงเดียวและยังคงพอใจ ที่จะใช้ชีวิตอย่างยาจก เราก็ยากที่จะพูดได้ว่า เขาได้รับสุขทรัพย์มั่งคั่งเหล่านั้น ถ้าพูดในด้านทัศนะภายนอกแล้ว เขาร่ำรวยก็จริง แต่ถ้าว่าตามประสบการณ์ ในความเป็นจริงของเขาเองแล้ว เขาไม่มีอะไรเลย. นี่คือสภาพการณ์ของคริสเตียนมากมายในวันนี้ พวกเขาได้รับความรอดแล้วก็จริง แต่ในชีวิตประจำวันของเขานั้น เขามีประสบการณ์น้อยมาก ต่อความอุดมสมบูรณ์ อันหาที่สุดไม่ได้ของพระคริสต์ (อฟ.3:8)ทว่าพระเจ้าไม่เพียงมีจุดมุ่งหมาย ให้เราได้รับพระคริสต์เท่านั้น แต่ยังให้เราได้รับสุขพระองค์ กระทั่งรับสุขพระองค์อย่างถึงที่สุดด้วย (ยฮ.10:10; ฟป.4:4) สภาพการณ์ที่ปกติของคริสเตียนต้องเป็นการ "โลดเต้นด้วยความยินดี ที่ไม่อาจบรรยายและเต็มด้วยสง่าราศี" (1ปต.1:8). แต่พวกเราแทบทุกคน ล้วนต้องยอมรับว่ามีบางครั้ง กระทั่งหลายครั้ง เราก็ไม่มีความยินดีที่เปี่ยมล้นเช่นนี้ นี่แสดงว่าเราสูญเสียความรอด ของเราไปแล้วอย่างนั้นหรือ? ไม่ใช่อย่างนั้นเด็ดขาด! พื้นฐานแห่งความรอดของเราคือพระเจ้า ไม่ใช่ตัวเราเองทว่าแม้เราจะไม่มีทางสูญเสีย ความรอดของเราไปได้ แต่เราก็อาจสูญเสียความยินดี แห่งความรอดนั้นได้. การสูญเสียความยินดี ถ้าอย่างนั้น อะไรคือสิ่งที่ทำให้บางครั้ง เราสูญเสียความยินดีของเราไป? เรื่องแรกก็คือความบาปความยินดีนั้น ขึ้นอยู่กับการที่เราสามารถสามัคคีธรรม กับพระเจ้าได้โดยไม่ขาดตอน แต่ความบาปแยกเราจากพระองค์ และทำให้พระองค์ต้องซ่อนพระพักตร์ไว้ (ยซย.59:1-2). เรื่องที่สองคือ การทำให้พระวิญญาณบริสุทธิ์เสียพระทัย (อฟ.4:30) เมื่อเราได้รับความรอด เราก็กลายเป็นพระวิหารของพระเจ้า และมีพระวิญญาณของพระองค์ อาศัยอยู่ภายในเรา (1กธ.6:17, 19; รม.8:9, 11, 16)พระวิญญาณที่อยู่ภายในนี้ไม่ใช่ "พลัง" หรือ "สิ่งของ" อย่างหนึ่ง แต่เป็นบุคคลที่มีชีวิตผู้หนึ่ง นั่นคือตัวของพระเยซูคริสต์นั่นเอง (1กธ.15:45; 2กธ.3:17; 13:5) พระองค์ทรงมีความรู้สึกและทัศนคติ ดังนั้นเมื่อเราพูด หรือทำสิ่งที่ขัดแย้งกับพระองค์ พระองค์ที่ทรงอาศัยอยู่ภายในเรา ก็ทรงเสียพระทัย เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเสียพระทัย วิญญาณของเราที่เข้าสนิทกับพระองค์ (1กธ.6:17) ก็ย่อมโศกเศร้าเสียใจไปด้วย เราจึงสูญเสียความยินดีไป. การรักษาไว้ซึ่งความยินดี ความรอดของเรานั้น เป็นเหมือนกับศิลาที่มั่นคงไม่หวั่นไหว แต่ความยินดีแห่งความรอดของเรานั้น เป็นเหมือนกับดอกไม้ที่บอบบาง ถูกลมพัดเบาๆ ก็เหี่ยวเฉา ดังนั้นความยินดีนี้ จึงเป็นสิ่งที่เราต้องคอยบ่มเพาะและบำรุงถ้าอย่างนั้น เราจะรักษาไว้ซึ่งความยินดีนี้ได้อย่างไร? ประการแรก เราสามารถสารภาพความบาปของเรา (1ยฮ.1:7, 9) เมื่อเราสารภาพความผิดของเรา ต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า พระโลหิตของพระองค์ก็จะชำระเรา และการสามัคคีธรรมระหว่างเรากับพระองค์ ก็จะฟื้นคืนมา หลังจากดาวิดทำบาป เขาก็อธิษฐานว่า "โปรดให้ความชื่นบานในความรอดของพระองค์ ฟื้นคืนสู่ข้าพเจ้า" (บพส.51:12)เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องรอคอยพระโลหิตอันล้ำค่าของพระคริสต์ สามารถชำระเราให้ปราศจากอธรรมทั้งสิ้น. ประการที่สอง เราสามารถรับเอาพระคำของพระเจ้า มาเป็นอาหารของเรา ยิระมะยากล่าวว่า "พระคำของพระองค์ข้าพเจ้าได้พบแล้ว และข้าพเจ้าได้กินคำนั้น และพระคำของพระองค์ ได้กลายเป็นความชื่นบาน และความยินดีแห่งใจของข้าพเจ้า" (ยรม.15:16) เรามักจะพบว่า หลายครั้งหลังจากที่เรานำพระคำของพระเจ้ามาอ่าน และอธิษฐานแล้ว ใจของเราก็เอ่อล้นด้วยการรับสุขไม่มีใครที่ขาดอาหารแล้วยังมีความสุขทำนองเดียวกัน เราก็ไม่ควรเป็นคริสเตียนที่ขาดอาหาร เราควรกินพระคำของพระเจ้า อย่างสม่ำเสมอ กระทั่งกินให้เหมือนในงานเลี้ยงด้วย (มธ.4:4). ประการที่สาม เราสามารถอธิษฐานได้หลายครั้งหลังจากที่เราเปิดใจของเรา และทูลต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า ในส่วนลึกของเรา ก็สัมผัสถึงความยินดีและความสดชื่น ยะซายา 56:7 กล่าวว่า พระองค์จะทรงทำให้เราชื่นชมยินดี อยู่ในพระนิเวศน์แห่งการอธิษฐานของพระองค์ การอธิษฐานที่แท้จริง ไม่ใช่การท่องหรือสวด ด้วยข้อความและวลีที่เราเคยชิน แต่เป็นการนำเอาสิ่งที่อยู่ในใจ และวิญญาณของเรามาเทลงที่องค์พระผู้เป็นเจ้าพระเยซูตรัสว่า "จงขอเถิดแล้วท่านจะได้รับ เพื่อความชื่นชมยินดีของท่าน จะได้บริบูรณ์" (ยฮ.16:24) การอธิษฐานที่แท้จริงนั้น จะปลดปล่อยเราและเป็นสิ่งที่เรารับสุขได้. ประการสุดท้าย เราสามารถสามัคคีธรรมได้ การรับสุขที่ยิ่งใหญ่สำหรับคริสเตียน คือการอยู่ด้วยกันกับผู้อื่นที่รัก และรับสุขพระคริสต์ ไม่มีถ้อยคำใดๆ ของมนุษย์ที่สามารถบรรยายถึง ความหวานชื่นที่เราได้ประสบการณ์ ในขณะที่เรามาร่วมกันสรรเสริญพระองค์ และพูดถึงพระองค์ ใน 1 โยฮัน 1:3-4 กล่าวว่า "เพื่อท่านจะได้ร่วมสามัคคีธรรมกับเราด้วยแท้จริงเราก็ร่วมสามัคคีธรรม กับพระบิดาและกับพระบุตรของพระองค์ คือพระเยซูคริสต์และเราเขียนข้อความเหล่านี้ เพื่อความยินดีของเราจะได้เต็มเปี่ยม." การสามัคคีธรรมที่แท้จริง ย่อมไม่ใช่หน้าที่ซึ่งต้องทำ แต่เป็นการรับสุขอย่างหนึ่ง เป็นความยินดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกนี้. บัดนี้เราก็มีทั้งหลักประกัน, ความมั่นคงปลอดภัย, และความยินดีแห่งความรอดของเรา สรรเสริญพระองค์ สำหรับความรอดที่ครบสมบูรณ์เช่นนี้!
|
|
|
 |
|
|